Thai second edition 2013

103

บทที่ 1 • แนวคิดทั่วไป

การวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์1เป็นสาขาของประชากรศาสตร์รูปนัย ที่ควบคุมผลกระทบของขนาดและโครงสร้างประชากรที่มีต่อปรากฏการณ์ทางประชากร2 ด้วยการแยกผลกระทบของตัวแปรทางประชากรแต่ละตัวออกจากผลกระทบของตัวแปรอื่น ๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดจากผลกระทบของตัวแปรอื่น ๆ เรียกว่าปรากฏการณ์ก่อกวน3 สาขาย่อยนี้ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางประชากรต่าง ๆ และปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านี้ที่ก่อให้เกิดรูปโครงสร้างประชากรขึ้นมา มีความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์เชิงรุ่น4 หรือการวิเคราะห์รุ่นวัย4 ซึ่งมุ่งเจาะจงไปที่รุ่น (cf.117-2) ที่กำหนดไว้ชัดเจน ที่ติดตามศึกษารุ่นนี้ไปเรื่อย ๆ กับการวิเคราะห์แบบตัดขวาง5 หรือการวิเคราะห์ช่วงเวลา5 ซึ่งมุ่งเจาะจงไปที่ปรากฏการณ์ทางประชากรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แน่นอน (อย่างเช่นในปีปฏิทินหนึ่ง) ในกลุ่มประชากรหลาย ๆ รุ่น

Footnotes

4 การวิเคราะห์รุ่นวัยเป็นรูปแบบหนึ่งของการวิเคราะห์ระยะยาว (longitudinal analysis) ซึ่งเป็นการศึกษากลุ่มคนที่มีคุณลักษณะเหมือนกัน การวิเคราะห์แผง (panel analysis) ที่ติดตามศึกษาบุคคลคนเดียวกัน

Read on Demopædia

Terms

Notes' terms

<<< 102 สารบัญ 104 >>>