Thai second edition 2013

902

บทที่ 9 • มุมมองด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชากรศาสตร์

การพิจารณาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างขนาดประชากรและทรัพยากร นำไปสู่แนวความคิดเกี่ยวกับประชากรมากเกิน1 และประชากรน้อยเกิน2 คำเหล่านี้นิยามไว้ที่ ระดับของการพัฒนา3 ที่กำหนดไว้ตายตัวระดับหนึ่ง เมื่อประชากรมีขนาดไม่ใหญ่หรือไม่เล็กไปกว่าที่จะทำให้เกิดข้อได้เปรียบ ก็จะเรียกว่าเป็นขนาดประชากรเหมาะที่สุด4 หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า ขนาดเหมาะที่สุด4 ข้อได้เปรียบที่เกิดขึ้นจากขนาดที่เหมาะสมที่สุดอาจมีลักษณะในเชิงเศรษฐกิจ และเมื่อเป็นเช่นนั้นจะเรียกว่าเป็นขนาดเหมาะที่สุดทางเศรษฐกิจ5 การอภิปรายขนาดที่เหมาะที่สุดทางเศรษฐกิจ โดยทั่วไปจะกล่าวถึงในแง่ของสวัสดิการทางเศรษฐกิจ แต่ทว่าเรื่องนี้ยากที่จะวัดด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นบางครั้งจึงนำระดับการครองชีพ6 หรือ มาตรฐานการครองชีพ6 มาใช้แทน ระดับการครองชีพประมาณได้โดยรายได้ประชาชาติต่อหัวที่แท้จริง7 ได้แก่ ปริมาณรวมของสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (หรือมูลค่าเงินรายได้ปรับตามอำนาจซื้อ) หารด้วยจำนวนประชากรรวมในระหว่างช่วงเวลานั้น

Footnotes

5 นักวิชาการบางท่านใช้แนวความคิดขนาดเหมาะสมที่สุดทางการเมือง และขนาดเหมาะสมที่สุดทางสังคมเช่นเดียวกับขนาดเหมาะสมที่สุดทางเศรษฐกิจ

6 คำว่า "มาตรฐานการครองชีพ" นักเศรษฐศาสตร์หลายคนจำกัดขอบเขตว่าหมายถึงเป้าหมายที่ยอมรับ หรือชุดความต้องการที่รับรู้กัน ที่แตกต่างจากระดับการครองชีพที่เป็นอยู่จริงๆ บางคนใช้ศัพท์เหล่านี้แทนกันได้

7 การวัดอื่นๆ อย่างเช่น มีการใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัว คำว่า "Per capita" แม้จะผิดหลักไวยากรณ์ แต่ก็ใช้แทนคำว่า "ต่อหัว"

Read on Demopædia

Terms

Notes' terms

<<< 901 สารบัญ 903 >>>